คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ ผลิตบัณฑิตทุกระดับ (ระดับปริญญาตรี ป.บัณฑิตวิชาชีพครู ระดับปริญญาโท และระดับปริญญาเอก) รวม 14 หลักสูตร ดังรายละเอียดดังนี้
หลักสูตรระดับปริญญาตรี จำนวน 12 หลักสูตร ดังนี้
- สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย
- สาขาวิชาการประถมศึกษา
- สาขาวิชาคณิตศาสตร์
- สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ศึกษา
- สาขาวิชาสังคมศึกษา
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป
- สาขาวิชาพลศึกษา
- สาขาวิชาดนตรีศึกษา
- สาขาวิชาการสอนภาษาจีน
- สาขาวิชานาฎศิลป์ศึกษา
หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต จำนวน 1 หลักสูตร คือ
- สาขาวิชาชีพครู
หลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา จำนวน 2 หลักสูตร ดังนี้
- การบริหารการศึกษา (ป.โท)
- การบริหารการศึกษา (ป.เอก)
หลักสูตรและบริการที่สำคัญของคณะครุศาสตร์
ด้านการผลิต คณะฯ จัดการเรียนการสอนระดับปริญญาตรี 12 หลักสูตร ประกาศนียบัตรบัณฑิตวิชาชีพครู 1 หลักสูตร ปริญญาโท 1 หลักสูตร และปริญญาเอก 1 หลักสูตร รวม 14 หลักสูตร โดยทุกหลักสูตรพัฒนาตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2558 และมาตรฐานวิชาชีพครู ได้รับอนุมัติจากสภามหาวิทยาลัยและได้รับการประเมินคุณภาพการศึกษาภายในตามเกณฑ์ QA ความสำเร็จในการผลิตบัณฑิต คือ นักศึกษาสำเร็จการศึกษาตามกำหนด บัณฑิตมีงานทำ และความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนเพิ่มขึ้น
ด้านการวิจัย คณะฯ ผลิตผลงานวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ที่สร้างนวัตกรรมที่สอดคล้องกับการพัฒนาการจัดการเรียนการสอน การแก้ปัญหาท้องถิ่น ที่ตอบสนองปัญหาและความต้องการของสังคม โดยมีระบบและกลไกการส่งเสนริมด้วยการให้ทุนวิจัย จัดอบรมทักษะการวิจัย จัดประชุมวิชาการเผยแพร่ผลงานวิจัย และจัดพิมพ์วารสารวิชาการที่มีคุณภาพสูงในระดับชาติ (TCI) รวมถึงสมนาคุณการตีพิมพ์ผลงาน ความสำเร็จในการวิจัย คือ ทุนสนับสนุนการวิจัยและผลงานที่ได้รับรางวัล
ด้านการบริการวิชาการ คณะฯ มีคณะกรรมการบริการวิชาการแก่ชุมชนท้องถิ่น เพื่อช่วยขับเคลื่อนการจัดบริการวิชาการแก่สังคมในหลายรูปแบบ ได้แก่ การลงปฏิบัติงานในพื้นที่ร่วมกับชุมชน การจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ การจัดประชุมสัมมนาหรือบรรยายทางวิชาการ การจัดโครงการส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนในเขตจังหวัดศรีสะเกษและจังหวัดยโสธร การศึกษาและแหล่งเรียนรู้ การพัฒนาชุมชนและสังคม การเป็นคณะทำงานหรือผู้ทรงคุณวุฒิให้แก่หน่วยงานทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัยในสาขาวิชาที่เชี่ยวชาญ ความสำเร็จในการบริการวิชาการ คือ การสร้างรายได้จากการบริการวิชาการ และความพึงพอใจของผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้น
ด้านเครือข่ายความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ คณะฯ แสวหาและยกระดับความร่วมมือเชิงกลยุทธ์ ทั้งในระดับชุมชน ประเทศ และนานาชาติ เพื่อสนับสนุนพันธกิจด้านต่าง ๆ ข้างต้นของคณะ ฯ ทั้งการผลิตบัณฑิต การวิจัย การบริการวิชาการ และการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม
ด้านการบริหารจัดการองค์กร คณะฯ ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีการสื่อสาร สารสนเทศ และดิจิทัล เพื่อพัฒนาสมรรถนะบุคลากรในการทำงานและบริหารองค์กร อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน